การรับประทานอาหาร 5 พฤติกรรมเสี่ยง “ มะเร็งกระเพาะอาหาร ”

Author

Categories

Share

การรับประทานอาหาร 5 พฤติกรรมเสี่ยง “ มะเร็งกระเพาะอาหาร ”

การรับประทานอาหาร 5 พฤติกรรมเสี่ยง “ มะเร็งกระเพาะอาหาร ” นอกจากโรคกระเพาะอาหารอักเสบแล้ว พฤติกรรมการรับประทานอาหาร และไลฟ์สไตล์ต่างๆ ยังอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหารได้ด้วย

อธิบดีกรมการแพทย์ นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ กล่าวว่า มะเร็งกระเพาะอาหารเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 6 ของมะเร็งที่พบทั้งหมดทั่วโลก สำหรับประเทศไทยมีผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะอาหารรายใหม่ปีละ 2853 คน

1 ใน 10 ของผู้ป่วยมะเร็งเพศชายทั้งประเทศ ส่วนเพศหญิงแม้จะไม่ติด 10 อันดับแรก แต่มีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็งกระเพาะอาหารมากเช่นกัน

สาเหตุ และปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร

มะเร็งกระเพาะอาหาร เป็นโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดโรคที่แน่ชัด แต่ก็พบว่ามีหลายปัจจัยที่ทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร เช่น

  • การติดเชื้อแบคทีเรีย Helicobacter pylori (เชื้อแบคทีเรียตัวเดียวกันกับที่ก่อให้เกิดโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ที่อาจมาจากการรับประทานอาหารและน้ำที่ไม่สะอาด มีการปนเปื้อน)
  • การสูบบุหรี่
  • การดื่มสุรา
  • การรับประทานอาหารหมักดอง
  • ปล่อยให้ตัวเองมีอาการอักเสบ หรือเป็นแผลในกระเพาะอาหารเรื้อรังโดยไม่รีบรักษา

อาการของโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร

ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ นายแพทย์จินดา โรจนเมธินทร์ กล่าวว่า มะเร็งกระเพาะอาหารระยะเริ่มแรกอาจไม่มีอาการแสดงออกชัดเจน และอาจมีอาการคล้ายโรคอื่นๆ เช่น โรคแผลในกระเพาะอาหาร หรือกระเพาะอาหารอักเสบ เช่น

  • มีอาการท้องอืดจุกแน่นท้องหลังรับประทานอาหาร
  • กลืนอาหารลำบาก
  • เบื่ออาหาร
  • คลื่นไส้ อาเจียน

ในผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามอาจอาเจียนเป็นเลือด ถ่ายอุจจาระเป็นสีดำคล้ำ หรืออาจมีเลือดปนในอุจจาระ น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ หากพบอาการผิดปกติเหล่านี้ควรรีบปรึกษาแพทย์

  • ท้องอืด-ปวดท้องหลังกินข้าว สัญญาณอันตราย “มะเร็งกระเพาะอาหาร”

การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร

ในด้านการวินิจฉัยโรคทำได้ด้วยการส่องกล้องตรวจทางเดินอาหาร การตัดชิ้นเนื้อเพื่อตรวจพิสูจน์ทางห้องปฏิบัติการ นอกจากนี้ยังมีการตรวจเพิ่มเติมด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์เพื่อประเมินการแพร่กระจายของโรคไปยังอวัยวะอื่นๆ อีกด้วย

การป้องกันโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร

การป้องกันโรคสามารถทำได้โดยการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวข้างต้น รวมไปถึงการรับประทานอาหารที่ถูกสุขอนามัย ตลอดจนเข้ารับการตรวจคัดกรองด้วยการส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหารหากมีอาการปวดท้องเรื้อรังจะช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหารได้

เรื่องราว >  สุขภาพ ความสวยความงาม อื่นๆ < ที่คุณไม่ควรพลาด สาระความรู้ต่างๆ

ข้อมูล > กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

Author

Share